ปลวกตัวแรกของโลกพบเมื่อประมาณ 220 ล้านปีมาแล้ว เป็นการขุดพบซากฟอสซิลของปลวก โดย E.M. BORDY แห่งมหาวิทยาลัย
- ในโลกทุกวันนี้มีปลวกมากกว่า 2,000 ชนิด
- แมลงเม่า เป็นปลวกในระยะสืบพันธ์
- ราชาปลวก เป็นปลวกที่ไม่ต้องทำมาหากิน มีหน้าที่สืบพันธ์กับราชินีปลวกในเวลากลางคืน ซึ่งเป็นเวลาที่ศัตรูปลวก ได้แก่ มด แมลงเต่าทอง ตัวต่อ กิ้งก่า ตะกวด ตะขาบ นอนหลับพักผ่อน ทำให้ประสิทธิภาพในการสร้างปลวกอ่อนไม่ถูกกระทบกระเทือน
- อาณาจักรปลวกมีการปกครองแบบสมบูรณาสิทธิราชย์ คือมีราชินีปลวกเป็นเจ้าแม่ผู้ทรงอำนาจสูงสุด เพราะเจ้าแม่ปลวกขาวพันธ์อาจมีอายุยืนนานถึง 100 ปี ดังนั้นการมีประสิทธิภาพสูงในการผลิตปลวก จึงทำให้สมาชิกปลวกมีจำนวนเพิ่มขึ้นตลอดเวลา และนั่นก็หมายความว่า รังปลวกจะมีขนาดใหญ่ขึ้นเรื่อย ๆ โดยมันจะขนดินจากใต้ดินขึ้นมาบนดินและวางให้เป็นกองแล้วใช้น้ำลายเป็นตัวเชื่อมเนื้อดิน จนได้จอมปลวกที่อาจสูงถึง 7 เมตร ลักษณะของรังปลวกจะเอียง เพื่อป้องกันไม่ให้น้ำท่วมขัง และรังของมันจะมีรูระบายอากาศเข้าออกอีกทั้งมีสิ้นปิดเปิดให้ความชื้นภายในรังอยู่ที่ระดับพอดี
ปลวก เป็นแมลงที่อยู่เป็นสังคมประกอบด้วยวรรณะต่าง ๆ ดังนี้
1. ปลวกสืบพันธ์ เป็นปลวกตัวผู้และตัวเมีย ปลวกตัวผู้เรียกว่าราชาปลวก ปลวกตัวเมียเรียกว่า ราชินีปลวกปลวกเหล่านี้มีหน้าที่ผสมพันธ์และสืบพันธ์ ปลวกสืบพันธ์มีหน้าที่กระจายพันธ์และสร้างอาณาจักรใหม่เกิดขึ้น ปลวกชนิดนี้เรียกว่าแมลงเม่า เมื่อจับคู่ผสมพันธ์แล้วจะสลัดปีกและเสือกสถานที่เหมาะสมเพื่อสร้างรัง
2. ปลวกทหาร เป็นปลวกตัวเล็กแต่มีหัวโต และขากรรไกรขนาดใหญ่ เพื่อใช้ในการต่อสู้ ไม่มีปีก ไม่มีตา ปลวกทหารมีหน้าที่ปกป้องอันตรายที่จะเกิดขึ้นกับรัง ศัตรูของปลวกทหารคือ มด ปลวกทหารไม่มีตาแต่ก็สามารถป้องกันรังของมันได้อย่างไม่ย่อท้อ โดยมันจะใช้เขี้ยวกัดและปล่อยยางเหนียว ๆ ออกมาตามตัวมด ซึ่งจะส่งกลิ่นล่อปลวกทหารตัวอื่น ๆ เข้ามารุมกัดมดที่บุกรุกรังมันจนตาย
3. ปลวกงาน เป็นปลวกตัวลำไม่มีปีก และไม่มีตา อาศัยอยู่ในดินหรือเนื้อไม้ที่มันกัดกินและมีหน้าที่หาอาหารมาเลี้ยงปลวกวรรณะอื่น ๆ ปลวกชนิดนี้จะทำงานทุกอย่างในรัง
การสร้างอาณาจักรหรือนิคมของปลวก
เริ่มต้นขึ้นเมื่อฤดูกาลเหมาะสม ส่วนใหญ่มักเป็นช่วงหลังฝนตก ปีละประมาณ 2-3 ครั้ง โดยแมลงเม่าเพศผู้และเพศเมีย (alate or winged reproductive male or female ) บินออกจากรังในช่วงเวลพลบค่ำเพื่อมาเล่นไฟ จับคู่ผสมพันธุ์กันสำหรับปลวกใต้ดินที่เข้าทำลายอาคารบ้านเรือนมักจะบินออกจากรัง เวลาประมาณ 18.30 – 19.30 น. จากนั้นจึงสลัดปีกทิ้งแล้ว แล้วเจาะลงไปสร้างรังในดินบริเวณที่มีแหล่งอาหารและความชื้น หลังจากปรับสภาพดินเป็นที่อยู่อาศัยแล้ว ประมาณ 2-3 วัน จึงเริ่มวางไข่เป็นฟองเดี่ยวๆ และเพิ่มจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ จนอาจถึงวันละหลายพันฟอง ไข่จะฟักออกมาเป็นตัวอ่อน (larva) และเจริญเติบโตโดยมีการลอกคราบจนเป็นตัวเต็มวัย ไข่รุ่นแรกจะฟักออกมาเป็นปลวกไม่มีปีกและเป็นหมัน สารเคมีที่เรียกกันว่าฟีโรโมนหรือสารที่ผลิตออกมาจากทวารหนักของราชินีเพื่อให้ตัวอ่อนกิน จะเป็นตัวกำหนดให้ตัวอ่อนพัฒนาไปเป็นปลวกวรรณะต่างๆ เช่น ปลวกงาน (worker) ปลวกทหาร (soldier) โดยบางส่วนของตัวอ่อนจะเจริญไปเป็นปลวกที่มีปีกสั้นไม่สมบูรณ์อยู่ในรังในช่วงระยะเจริญพันธุ์ (nymphs) เมื่อถึงฤดูผสมพันธุ์จะเจริญไปเป็นแมลงเม่า ซึ่งมีปีกยาวสมบูรณ์เต็มที่บินออกไปผสมพันธุ์ต่อไป ตัวอ่อนบางส่วนจะเจริญไปเป็นปลวกวรรณะสืบพันธุ์รอง (supplementary queen and king) ทำหน้าที่ผสมพันธุ์และออกไข่เพิ่มจำนวนประชากรในกรณีที่ราชา (king) หรือราชินี (queen) ของรังถูกทำลาย
การกินอาหารของปลวก
ปลวกมีชีวิตรวมกันแบบสังคม มีการแบ่งหน้าที่ พวกวรรณะกรรมกรมีหน้าที่หาอาหารให้กับปลวกในวรรณะอื่นๆ จึงมีพฤติกรรมในการถ่ายทอดอาหารจากตัวหนึ่งไปอีกตัวหนึ่ง บางคนเรียกว่า พฤติกรรมเลีย แต่ปลวกไม่มีลิ้นจึงเรียกพฤติกรรมเขี่ย ปลวกมีพฤติกรรมเขี่ยอยู่สองอย่าง คือเขี่ยปาก (stomodeal feeding) และเขี่ยก้น (proctodeal feeding) ปลวกจะใช้ส่วนของหนวดกระตุ้นฝ่ายตรงข้ามและเอาปากตัวเองไปจ่อที่ปากหรือก้นฝ่ายตรงข้ามเพื่อรับอาหารจากปากหรือก้นของอีกฝ่าย และพฤติกรรมนี้ยังมีผลต่อปรากฏการณ์ในด้านอื่นของสังคมปลวกอีกหลายประการ เช่น เป็นการติดต่อสื่อสารในระหว่างพวกเดียวกัน เป็นการแพร่กระจายสารฟีโรโมน สำหรับการควบคุมวรรณะต่างๆ ในรังปลวก และเป็นการส่งผ่านโปรโตซัวสำหรับช่วยในการย่อยเนื้อไม้ของปลวกจำพวกที่มีโปรโตซัวในลำไส้ เป็นต้น และปลวกยังมีพฤติกรรมเขี่ยเมื่อปลวกตัวอื่นๆ มีวัสดุติดตัวรุงรัง จึงมีการนำเอาสารเคมีกำจัดแมลงชนิดผงมาใช้ ทำให้ปลวกตัวอื่นที่มาช่วยกันเขี่ยได้รับสารเคมีตายไปด้วย สารเคมีกำจัดแมลงชนิดผงใช้ได้ดีกับปลวกเนื้อไม้แห้ง (dry wood termites) ซึ่งทำรังขนาดเล็กไม่ต้องการความชื้นสูงในการดำรงชีวิต สารเคมีกำจัดแมลงชนิดผงนี้ให้ผลดีกับปลวกที่ทำลายท่อนซุงหรือเสารั้ว ซึ่งอยู่ห่างจากอาคารบ้านเรือน แต่ไม่แนะนำให้ใช้ในอาคารบ้านเรือนโดยเฉพาะสารหนูผงเพราะฟุ้งกระจายออกจากบริเวณที่ใช้ สำหรับพวกปลวกดิน (subterranean termites) และปลวกพวกผิวดิน (ground of dwelling termites) เป็นพวกที่ต้องการความชื้นสูง การใช้สารเคมีกำจัดแมลงชนิดผงจะไม่ได้ผลดีเท่าที่ควร เนื่องจากความชื้นอาจทำให้ยาผงจับตัวเป็นก้อน และส่วนใหญ่เมื่อโรยสารเคมีผงบนทางเดินของปลวก มักจะเปลี่ยนทางเดินใหม่เพราะถูกรบกวน