1. บทนำ
ปลวกขึ้นบ้าน กินจนบ้านพัง โดยเฉพาะบ้านไม้หากขึ้นกินโครงหลังคา หากไล่ไม่ทันแค่ 2 ปี โครงหลังคาไม้ผุพังร่วงหล่น บ้านที่มีโครงหลังคาไม้ตีฝ้าปิดไม่ได้สร้างช่องขึ้น (Man Hole) ก็ขึ้นไปตรวจตรงจัดการไม่ได้อย่าลืมสร้างบ้านต้องมีช่องขึ้นห้องใต้หลังคา ไม้แต่ละชนิดทุกต่อปลวกไม่เท่ากัน ไม้ยาง ไม้ยางพารา ไม้ท่อน ไม้ที่ทนต่อปลวกปานกลางก็มี ประดู่ มะค่า ตะเคียนหิน ไม้ที่ทนต่อปลวกมากมี ไม้สัก ไม้สะเดา ไม้ตะกู ไม้จำปา ไม้มะหาด เปลือกไม้จะไม่ทนต่อปลวก แก่นไม้จะทนมากกว่า ไม้อายุมากๆ จะแข็งน้อยปลวกไม่ชอบ
2. การแก้ปัญหาปลวก
การแก้ปัญหาปลวกในสมัยปัจจุบันนิยมใช้สารเคมี อัดฉีดที่ดินโดนเสา คานคอดิน ทำระบบอัดน้ำยาตามระบบท่อ เติมน้ำยาลงทุกปี มีบริการกำจัดปลวก อัดฉีดทุกปี ปลวกไม่เห็นหายไปไหนเหมือนเกษตรเคมีเสียครั้งละ 7-8 พันบาท วิธีการต่อสู้กับปลวกมีดังนี้
2.1) ตัดแหล่งอาหาร
อย่าเก็บหนังสือด้วยกล่องลูกฟูก ปลวกจะได้กลิ่นแล้วหาทางไปหาทิ้งกล่องลูกฟูกไปให้ใส่หนังสือลงกล่องพลาสติกแล้วทิ้งลูกเหม็นไปสัก 1 ลูก กลบกลิ่นหนังสือกระดาษหรือใช้การบูร พิมเสนใส่ก็ได้
2.2) ตัดทางเดินปลวก
ปลวกจะมียุทธวิธีการขึ้นไปหาอาหาร ใบไม้ที่ล่วงหล่นใส่ระเบียงซ้อนทับ ปลวกจะเดินใต้ใบไม้เข้าหาตัวบ้านและแหล่งอาหารให้กวาดใบไม้ทิ้งให้สะอาด ปลวกจะชอบขึ้นจากดิน ทุลุวงกบประตูหลังน้ำ ในการก่อสร้างช่างบางคนชอบเอาวงกบที่ปลายจรดดิน
- ปลวกจะขึ้นมาตามรอบแตกปูนแล้วขึ้นแทรกมาตามวงกบไม้ ช่อนตัวหลบเดินทางตามช่องว่างระหว่างไม้กับคอนกรีตควรตัดให้สั้นขึ้นแล้วเอาปูนพอกเป็นเสาแทน
- ปลวกขึ้นที่ห้องใต้บันได เราใช้วิธีดินถมพื้นแล้วเทปูน ปลวกจะขึ้นจากดินขึ้นมาแล้วกินฝาห้องใต้บันได
- ช่วงบันไดไม้ติดกับพื้นชั้นว่างและพื้นชั้นบนให้ตัดปลายไม้แล้วใช้ปูนปั้นต่อแทนไม้เพราะจะเห็นปลวกบุกจากไม้ปาร์เก้แล้วใช้บันไดไม้เป็นทางเดิน
- เคยแกล้งทางเดินปลวก โดยการรื้อท่อทางเดินปลวกแล้วเอากาวดักหนูมาทาบวางให้ปลวกจับแล้วเดินต่อไม่ได้
- เคยเอาน้ำส้มสายชูบ้าง น้ำส้มควันไม้บ้างมาทาที่ท่อทางเดิน ปรากฎว่าปลวกเงียบไป 3-4 วัน แล้วปุกต่อ
2.3) ใช้โครงสร้างทนปลวกแทน
โดยเฉพาะช่องแสงที่ชานบันไดที่ยาวถึงเกือบถึงหลังคา หากเป็นไม้มีต้นไม้บังแสงความชื้นมีปลวกจะไต่ขึ้นและพยายามขึ้นหลังคาจากประสบการณ์ ต้องรื้อวงกบดังกล่าวทิ้งแล้วเปลี่ยนเป็นอิฐแก้วแทนหรือเปลี่ยนเป็นโครงอลูมิเนียมแทนไม้ซึ่งได้ผลดี
- โครงสร้างทนปลวก หากโครงหลังคาไม้เปลี่ยนเป็นเหล็กตัวซีหรือเหล็กกล่องก็จะช่วยได้มาก
- ใครว่ายิปซัมบอร์ดทนปลวก บนหลังคาในห้องใต้หลังคา ปลวกกัดกินกระดาษปิดทับบนยิปซัมบอร์ด
- ใช้ผนังคอนกรีต ตีนช้าง เสาคอนกรีตให้พ้นจากระดับพื้นดินสักอย่างน้อย 50 ซม.ก็จะทำให้ปลวกขึ้นบ้านลำบาก
2.4) สร้างตัวสะกัดทางขึ้นบ้าน
บ้านโบราณเขาออกแบบบ้านคล้ายตู้กับข้าวที่เสาทุกต้น ช่วงบันไดขึ้นบ้าน หรืออื่นที่ต่อกับพื้นเขาทำแบบถ้วยรองตู้กับข้าวเป็นเข้าภาชนะรับของเหลงได้ แล้วใส่น้ำหรือน้ำมันเครื่องหล่อไว้ป้องกัน มด ปลวก ข้ามมาขึ้นบ้าน
- เคยทดลองใช้กาวดักหนูขีดป้ายขวางทางเดินอุโมงค์ปลวกพบว่าปลวกหมดปัญญาขึ้นบ้านต่อ
2.5) เลือกวัสดุทนปลวก
วัสดุทนปลวกก็มีคอนกรีต อลูมิเนียมเหล็ก สังกะสี พลาสติก แต่หากเป็นพวกไม้ต้องเลือกไม้ทนปลวก เช่นแก่นๆ แข็ง หนักๆ เหม็นๆ หรือมีฤทธิ์เป็นสมุนไพร ไม้พวกสัก มะหาด มะค่า จำปา ตะกู หลุมพอ ตะเคียนหิน จะทนทาน แต่หากเป็นเปลือกกระพี้บางครั้งก็จะถูกปลวกโจมตีบ้าง สำหรับไม้ที่ปลวกชอบคือ ไม้พวกเบาๆ มีแป้งมาก เช่น ยาง ยางพารา
2.6) ทางเคลือบด้วยสารไล่ปลวก
หลายๆ คนนิยมซื้อสารเคมีทาไม้ป้องกันปลวก มอด ซึ่งมีหลายยี่ห้อ วิธีทางปลอดภัย ผสมผสานทางชีวภาพ อาจใช้น้ำมันเครื่องเสีย(ใช้แล้ว) เอามาทาเป็นโลชั่นไม้ซึ่งอาจเป็นตระกูลน้ำมันอื่น เช่น น้ำมันเกียร์ ดีเซล น้ำมันก๊าซผสมเทียนขึ้ผึ้ง ซึ่งควรทดลองก่อนโดยตัดชิ้นไม้ทาเคลือบสารแล้วเอาไปหมกบนรังปลวกแล้วเอาดินกลบก็จะรู้ว่าปลวกที่นั้นๆ มีนิสัยอย่างไรชอบกินอะไร
2.7) ปรับเนื้อไม้ให้ทนต่อปลวก สิ่งที่น่าสนใจกำลังทดลองอยู่มี
- นำไม้มาแช่น้ำ จนไม้จมในน้ำจุลินทรีย์อีเอ็มให้จุลินทรีย์กินในน้ำจุลินทรีย์อีเอ็มให้จุลินทรีย์กินแป้งน้ำตาลในเนื้อไม้หมด
- นำไม้มาแช่น้ำ 1 เดือน ให้แป้งในเนื้อไม้เน่าก่อน นำมาผึ่งให้แห้งและใช้งานต่อไป
- หมกในน้ำโคลนที่มีจุลินทรีย์รักษาเนื้อไม้นาน 1 เดือน แล้วค่อยนำมาล้างใช้
- นำไม้มาแช่ในน้ำหมักจุลินทรีย์ที่มีเปลือกแก่นกินไม้สักนาน 7-15 วัน จนไม้จม
- แช่น้ำหมักสะเดาจนไม้จม
- แช่น้ำปูนขาว จนไม้จม
- แช่น้ำโซเดียมซิลิเกต (Na sio2) เพื่อตกผลึกซิลิก้าในเนื้อไม้แบบไม้กลายเป็นหิน
- แช่น้ำหมกแกลบเผาเพิ่มซิลิก้าหรือขี้เถ่า กากชานอ้อย 1 เดือน
2.8) เลี้ยงปลวกให้อยู่ภายนอกบ้าน
วิธีนี้พยายามสร้างสิ่งแวดล้อมนอกบ้านไม้ที่ห่างออกจากบ้านสักอย่างน้อย 2-5 เมตร โดยใช้วิธีศึกษาว่าปลวกกลุ่มนี้ชอบกินอาหารอะไร เช่น กิ่งไม้ผุเล็กๆ กล่องลูกฟูก ก็เอาไปเลี้ยงโดยการขุดหลุมแถวรังปลวกสัก 50 ซม. ลึก 25 ซม. แล้วสุมอาหารลงไปทำไว้ 3-5หลุม แล้วเปิดทีละหลุมให้ไก่กินหมุนเวียนกันไป เป็นการเลี้ยงปลวกให้ไก่กิน ไก่จะอ้วนพี
2.9) อัดน้ำยาลงพื้น
วิธีนี้คนที่ชอบสารเคมี นิยมอัดยาฆ่าปลวกลงใส่พื้นโดยวิธีฉีดอัดลงไปให้ซึมซับในดินหากเราใช้วิธีเดียวกันแต่เปลี่ยนเป็นน้ำปูนขาว น้ำสะเดาสกัด น้ำมันเครื่อง น้ำมันดีเซล ก็จะดูปลอดภัยกว่า
2.10) ค้นหาทะลายรัง ให้ประกาศสงครามกับปลวก ค้นหาทะลายรัง สังเกตนิสัยปลวก
- กลัวเสียงมากกว่ากลัวแสง โดยทดสอบการเปิดแสงสว่างทั้งวันทั้งคืน แล้วดูการต่อท่อทางเคมี เทียบกับเดินขึ้นเดินลงทั้งคืน เครื่องมือค้นหา
- ฝึกจมูกให้ลดจำกลิ่นแสบน้ำส้มของปลวกให้ได้พอเข้าใกล้ก็จะไล่ล่าจุดซ่อนตัวได้
- ฝึกฟังเสียงตอนกลางคืน เสียงจะดังแกรกๆ ตอนปลวกกินไม้กินกระดาษ อาจใช้วิธีหูแนบผนังหรือใช้หูฟังแพทย์มาช่วยก็ได้ล่อปลวกออกมาให้เห็น
- เอากระดาษลูกฟูกหรืออาหารโปรดมาล่อ
2.11) ใช้ศัตรูปลวกมาช่วยควบคุมปริมาณประชากรปลวก
ศัตรูปลวกอาจเป็น
- มดดำ
- จุลินทรีย์บางชนิดต้องวิจัยต่อ
- ไส้เดือนเส้นด้าย ฉีดพ่นปลวกแล้วจะทำทำให้ปลวกกินอาหารไม่ได้ตายแล้วตัวอื่นมากินปลวกตายก็จะแพร่ระบาดไป
- ไก่
- จิ้งจก
- ตัวกินมด
- เลี้ยงปลวกแดงเป็นเชื้อเห็ดโคนจอมปลวก
3. บทส่งท้าย
ปลวกดูแล้วน่ากลัวเพราะทำให้บ้านในฝันของเราพังทะลาย หลังคายุบได้ภายในเวลาแค่ 2 ปี หากเราทิ้งไว้ควรหมั่นไปดูเป็นช่วงๆ แล้วควบคุมปลวกอย่าให้ลุกลาม ออกแบบโครงสร้างบ้านให้สะดวกต่อการตรวจตราอย่าเก็บอาหารโปรดของปลวกไว้ในบ้านเด็ดขาดหากจำเป็นต้องเปลี่ยนกลิ่นก่อน สิ่งที่น่ากลัวมากกว่าคือมอดไม้เพราะอยู่ในรูกัดกินแล้วปล่อยขี้ไม้ลงพื้นรูจึงเป็นเจาะดิ่งขึ้นเอาน้ำมันน้ำยาฉีดเข้าไปกำจัดได้ยากซึ่งต้องระวังด้วยเช่นกัน
สมหวัง วิทยาปัญญานนท์
3 สิงหาคม 2553
(ภูมิปัญญาอภิวัฒน์ Budding Wisdom)