ถ้าหากว่าเราจะพูดถึงปัญหาหนึ่งที่หลายท่านพบเมื่อสร้างบ้านเสร็จและเข้าไปอยู่อาศัยได้ระยะหนึ่ง คือ มีปลวกเข้าไปอาศัยอยู่ในบ้านและกัดกินโครงสร้างของบ้านทำให้เกิดปัญหาตามมา ถ้าหากปล่อยทิ้งไว้อาจจะเกิดปัญหาที่ยากจะแก้ไขตามมาภายหลัง ปลวกที่มีความสามารถในการทำลายสูง ได้แก่ ปลวกใต้ดิน (subterranean termites) ชนิดที่สำคัญคือ Coptotermes gestroi และ C.havilandi จัดเป็นปลวกที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจสูงที่สุดในประเทศไทย โดยมีประชากรปลวกนับแสนตัว และมีอัตราการแพร่พันธุ์ในแต่ละปีสูงมาก ทำให้การแพร่กระจายเป็นบริเวณกว้างในระยะเวลาอันสั้น นอกจากนั้น ยังพบปลวกชนิดสร้างรังขนาดเล็ก ขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ (carton nest termites) ที่สำคัญคือ Microcerotermes, Globitermes, Dicuspiditermes, Termes และ Odontotermes เป็นปลวกที่สร้างรังอยู่บนดินหรือตามกิ่งไม้ ต้นไม้ เสาไฟฟ้า หรือโครงสร้างอื่น ๆ ภายในอาคาร นอกจากปลวกที่เราทราบกัน โดยทั่วไปว่าเป็นศัตรูของบ้าน และเป็นศัตรูทำลายไม้ที่สร้างปัญหาให้กับมนุษย์แล้ว ปลวกยังทำลายต้นไม้ โดยกัดกินต้นไม้ตั้งแต่รากจนถึงลำต้น ทั้งในระยะต้นกล้าและไม้ยืนต้น พบความเสียหายทั้งในสวนผลไม้ ปาล์มน้ำมัน ยางพารา มะพร้าว ไร่อ้อย และมันสำปะหลัง นอกกจากนั้น ยังเป็นปัญหาทำลายสิ่งของเครื่องใช้ที่ทำด้วยเซลลูโลสเป็นองค์ประกอบ รวมทั้งกระดาษ เสื้อผ้าและเฟอร์นิเจอร์ต่าง ๆ
ไส้เดือนฝอยสายพันธุ์ไทยกำจัดปลวก
การกำจัดปลวกโดยทั่วๆไปจะใช้สารเคมี ได้แก่ สารเคมีจำพวกออร์แกนโนฟอสเฟต คาร์บาเมต และสารสังเคราะห์กลุ่มไพรีทอยด์ อย่างไรก็ตามเราตระหนักถึงอันตรายจากสารเคมีดังกล่าว ในปัจจุบัน จึงมุ่งเน้นวิธีการกำจัดปลวกที่ปราศจากมลพิษและไม่มีผลกระทบต่อสภาพแวดล้อม ไส้เดือนฝอยสกุล Steinernema sp. เป็นสายพันธุ์ที่แยกได้ในประเทศไทย มีคุณสมบัติทนทานอุณหภูมิได้สูง (35 องศาเซลเซียส) เพาะเลี้ยงได้ง่ายในอาหารเทียมราคาถูก มีความปลอดภัยต่อมนุษย์ สัตว์ พืช และสภาพแวดล้อมแต่มีศักยภาพในการกำจัดปลวกที่สร้างจอมปลวกและปลวกที่อยู่ใต้ดินได้ดี ไส้เดือนฝอยสายพันธุ์ไทย จัดเป็นสิ่งมีชีวิตขนาดเล็ก โดยไส้เดือนฝอยระยะเข้าทาลายแมลงมองไม่เห็นด้วยตาเปล่า มีลักษณะลาตัวกลมยาวคล้ายเส้นด้าย มีความยาวลาตัวเฉลี่ย 0.432 มิลลิเมตร และความกว้างเฉลี่ย 0.022 มิลลิเมตร ลาตัวไม่แบ่งเป็นข้อเป็นปล้อง มีผนังชั้นนอกเป็นรอยหยัก ยืดหยุ่นได้ มีอวัยวะเพื่อการดารงชีวิตประกอบด้วย ช่องขับถ่ายทางผิวหนัง เส้นประสาท ทางเดินอาหาร อวัยวะสืบพันธุ์แบบแยกเพศผู้เพศเมีย และกล้ามเนื้อ แต่ไม่พบระบบไหลเวียนโลหิต และระบบหายใจ จึงเป็นอีกหนึ่งทางเลือกในการนำไปใช้กำจัดปลวก เพื่อลดหรือทดแทนสารเคมีที่เป็นอันตรายต่อมนุษย์ สัตว์ และสภาพแวดล้อม
การเป็นพาราสิตในตัวแมลง
ไส้เดือนฝอย Steinernema sp. เป็นพาราสิตได้ทั้งในระยะตัวหนอนและตัวเต็มวัยของแมลง สามารถเจริญเติบโตและขยายพันธุ์ให้ลูกรุ่นใหม่ภายในลำตัวของหนอนอย่างต่อเนื่อง จนแมลงหรือหนอนเหลือแต่ซาก จึงเคลื่อนที่ออกจากซากเหยื่อในช่วงที่เป็นตัวอ่อนระยะที่ 3 ลงสู่ดิน ซึ่งตัวอ่อนระยะที่ 3 นี้ มีความทนทานต่อสภาพแวดล้อมได้ดีที่สุด สามารถอยู่ในดินเพื่อรอเหยื่อแมลงใหม่ได้มากกว่า 6 เดือน โดยพบว่าแมลงระยะตัวหนอนหลายชนิดเป็นแหล่งอาหารที่ดีของไส้เดือนฝอยสายพันธุ์ไทย เมื่อเข้าไปเป็นพาราสิตในตัวหนอนจะสามารถเจริญเติบโตและขยายพันธุ์ได้ 2-3 ชั่วอายุ ให้ลูกรุ่นใหม่ตั้งแต่ 10,000-100,000ตัวต่อหนอน 1ตัว (ขึ้นกับชนิดและขนาดของหนอน)
กลไกการเข้าทำลาย
เมื่อไส้เดือนฝอยที่อาศัยอยู่ในดินพบแมลงเหยื่อ จะเคลื่อนที่เข้าสู่ตัวแมลงโดยผ่านทางช่องเปิดตามธรรมชาติได้แก่ ทางปาก ช่องขับถ่าย หรือรูหายใจทางผิวหนัง จากนั้นเข้าสู่ช่องว่างภายในตัวแมลงซึ่งมีน้าเลือด หรือปลวกกินไส้เดือนฝอยเข้าไป จากนั้นไส้เดือนฝอยเคลื่อนที่เข้าสู่ช่องว่างภายในตัวปลวกซึ่งมีน้ำเลือด (haemocoel) และปลดปล่อยแบคทีเรีย (Xenorhabdus sp.) ที่อยู่ร่วมกับไส้เดือนฝอย (Symbiotic bacteria) เข้าสู่กระแสเลือดของปลวกแบคทีเรียจะสร้างสารพิษ มีผลทำให้ปลวกเกิดอาการเลือดเป็นพิษ หยุดนิ่ง และตายภายในเวลาไม่เกิน 6 ชั่วโมง ไส้เดือนฝอยจะเจริญเติบโตและขยายพันธุ์อยู่ภายในตัวปลวกประมาณ 3 – 4 วัน ได้ลูกรุ่นใหม่และเคลื่อนที่ออกจากซากปลวก เพื่อรอปลวกตัวใหม่ต่อไป
การใช้ไส้เดือนฝอยกำจัดปลวก
ผลิตภัณฑ์ไส้เดือนฝอย บรรจุในถุงพลาสติกใสรูปทรงสามเหลี่ยม โดยมีโพลิเมอร์เป็นสารอุ้มความชื้น บริมาณเท่ากับ 5 ล้านตัวต่อซอง การเก็บผลิตภัณฑ์ ควรเก็บไว้ที่อุณหภูมิห้อง (25 – 35 องศาเซลเซียส) จะสามารถเก็บได้นาน 3 เดือน นับจากวันผลิตวิธีการใช้ผลิตภัณฑ์ไส้เดือนฝอย ตัดถุงผลิตภัณฑ์เทโพลิเมอร์ลงในภาชนะ เติมน้ำสะอาดพอท่วม แล้วใช้มือกวนล้างให้ไส้เดือนฝอยหลุดออกจากผิวโพลิเมอร์ จากนั้น ใช้กระชอนกรองแยกโพลิเมอร์ทิ้งไป นำน้ำที่ผ่านการกรองใส่ในกระบอกฉีดน้ำ นำไปใช้ฉีดพ่นกำจัดปลวกดังนี้
1. กรณีที่พบตัวหรือรังปลวก ให้ฉีดพ่นถูกตัวปลวกหรืออาจใช้วิธีราดเดือนฝอยลงไปในรังปลวกปฏิบัติซ้ำ ระยะห่าง 2 – 3 วัน หรือจนไม่พบตัวปลวก
2. กรณีไม่พบตัวปลวก ให้จุดหลุมขนาดกว้าง 30 เซนติเมตร ลึก 20 เซนติเมตร เพื่อวางเหยื่ออาหารล่อปลวก โดยใช้ไส้เดือนฝอยคลุกกับขี้เลื่อยไม้ยางพาราหรือเศษกระดาษลูกฟูก โรยไว้ในหลุมที่ขุดไว้ ปิดปากหลุม ตรวจทุก 3 วัน และโรยไส้เดือนฝอยซ้ำ ระยะห่าง 3–5 วัน หรือจนไม่พบตัวปลวก
ข้อควรระวัง
- ห้ามนำผลิตภัณฑ์แช่ตู้เย็น
- เมื่อล้างแยกไส้เดือนฝอยออกจากโพลิเมอร์แล้ว ควรใช้ให้หมดในครั้งเดียว
- เขย่ากระบอกฉีดพ่นให้บ่อยครั้งในขณะฉีดพ่นกำจัดปลวกเพื่อไม่ให้ไส้เดือนฝอยตกตะกอนที่ก้นกระบอก
งานวิจัยของกรมวิชาการเกษตร เกี่ยวกับไส้เดือนฝอยกำจัดปลวกนี้ นักวิจัยของกรมวิชาการเกษตรได้ทำการวิจัย และทดลองจนประสบผลสำเร็จและสามารถเผยแพร่ให้ประชาชนที่สนใจที่มีความต้องการนำไส้เดือนฝอยไปใช้เพื่อกำจัดปลวกได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตลอดจนปัจจุบันกระแสการตื่นตัวของผู้บริโภคพืชผักปลอดภัยจากสารพิษมีมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งนโยบายของรัฐบาลและแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ที่ให้ความสำคัญในเรื่องของความปลอดภัยด้านอาหาร (Food safety) ตั้งแต่ขั้นตอนการผลิตจากไร่นาจนถึงแปรรูปเป็นอาหารสู่ผู้บริโภค โดยรัฐฯ เร่งผลักดันให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทาการวิจัยและพัฒนา เพื่อนาไปสู่การเกษตรที่ให้ ผลผลิตปลอดภัยและเป็นที่ต้องการของตลาดทั้งในและต่างประเทศ สารชีวภัณฑ์กาจัดศัตรูพืชจึงเป็นงานวิจัยหนึ่งที่กรมวิชาการเกษตร ได้วิจัยและพัฒนาเพื่อได้ชีวภัณฑ์ที่มีประสิทธิภาพนามาทดแทนหรือลดการใช้สารป้องกันกาจัดศัตรูพืชลงในระดับที่ปลอดภัย ไส้เดือนฝอยสกุล Steinernema sp. จึงเป็นอีกหนึ่งชีวภัณฑ์ที่มีศักยภาพในการกาจัดแมลงศัตรูพืชได้หลายชนิด แต่อย่างไรก็ตามไส้เดือนฝอยที่มีจาหน่ายเป็นการค้าในปัจจุบันมีราคาค่อนข้างสูง หาซื้อยาก อาจประสบปัญหาขณะเก็บรักษา และช่วงเวลาในการขนส่งผลิตภัณฑ์ยังมีผลทาให้ไส้เดือนฝอยลดประสิทธิภาพในการฆ่าแมลงได้ จึงทาให้การใช้ชีวภัณฑ์ไส้เดือนฝอยไม่แพร่ หลายเท่าที่ควร กรมวิชาการเกษตรได้วิจัยพัฒนาไส้เดือนฝอยกาจัดแมลงสายพันธุ์ไทย (Steinernema sp. Thai strain) ที่มีคุณสมบัติทนทานอุณหภูมิได้สูง มีศักยภาพในการกาจัดแมลงเทียบได้กับสายพันธุ์ที่ผลิตเป็นการค้า นอกจากนั้นยังสามารถเพาะเลี้ยงขยายปริมาณได้ดีในอาหารเทียมราคาถูก และมีต้นทุนการผลิตต่ำ ดังนั้น ไส้เดือนฝอยสายพันธุ์ไทยจึงเป็นชีวภัณฑ์อีกชนิดที่สามารถนาไปขยายผลสู่เกษตรกรให้มีการใช้กาจัดแมลงให้แพร่หลายเพิ่มขึ้น โดยกรมวิชาการเกษตร มีความพร้อมในเรื่องของเทคโนโลยีการผลิตอย่างง่าย ที่สามารถถ่ายทอดความรู้และสนับสนุนให้เกษตรกรเพาะเลี้ยงไส้เดือนฝอยใช้เอง ซึ่งจะช่วยลดรายจ่ายในการซื้อสารป้องกันกาจัดศัตรูพืช หรือสารชีวภัณฑ์อื่นๆ ที่มีราคาแพง และเกษตรกรสามารถพึ่งพาตนเองได้ ตลอดจนการใช้ไส้เดือนฝอยยังมีความปลอดภัยต่อผู้ใช้ ไม่มีสารพิษตกค้างในผลิตผลเกษตร และปลอดภัยต่อสภาพแวดล้อม รวมทั้งไส้เดือนฝอยที่เพาะเลี้ยงเองและนาไปใช้ทันทีจะมีความแข็งแรงและมีศักยภาพในการฆ่าแมลงได้ดี ชีวภัณฑ์ไส้เดือนฝอยจึงเป็นอีกหนึ่งทางเลือกในการควบคุมแมลงโดยชีววิธีที่เกษตรกรสามารถทาใช้เองได้ หากผู้อ่านท่านใดมีความสนใจและต้องการรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับไส้เดือนฝอยเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ สามารถติดต่อได้ที่ สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช กรมวิชาการเกษตร
(ขอบคุณ ดร.นุชนารถ ตั้งจิตสมคิด นักวิชาการเกษตรชำนาญการพิเศษ สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช กรมวิชาการเกษตร : ข้อมูล)